กล่องแอนดรอยครั้งแรกของกูเกิ้ล
เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว"กูเกิล"แถลงเปิดตัวสมาร์ทโฟนเน็กซัส6
และแท็บเลตเน็กซัส 9 ซึ่งเป็นไปตามคาดหมายอยู่แล้ว
แต่พร้อมกันนั้นอีกผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เซอร์ไพรส์กันทั้งวงการ คือ การเปิดตัว "เน็กซัส เพลเยอร์"
กล่องแอนดรอยทีวีของกูเกิลเอง นับเป็นกล่องแอนดรอยทีวีตัวแรกของบริษัท และไม่ใช่ "กูเกิลทีวี"
ที่พูดถึงกัน
เมื่อพูดถึงกล่องแอนดรอยทีวีปัจจุบันในบ้านเรา คนเริ่มรู้จักมากขึ้นในฐานะตัวเลือกหนึ่งของการหาความบันเทิงผ่านทางอินเทอร์เน็ต ที่เข้ามาทำตลาดกันอย่างเป็นทางการอยู่เท่าที่เห็นก็อย่างเช่น ลอจิเทค เป็นต้น เมื่อกูเกิลลงมาทำเอง กล่องแอนดรอยทีวียี่ห้ออื่น ๆ ที่มีตามท้องตลาดก็ต้องเผชิญกับคู่แข่งที่น่ากลัวเป็นพิเศษ ตอนนี้เน็กซัส เพลเยอร์ขายผ่านกูเกิล เพลย์สโตร์ ที่ค่อนข้างมีปัญหาในการเข้าถึงของลูกค้า เพิ่งจะเริ่มขยายเข้าไปขายผ่านเครือข่ายเบสต์บายเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมานี้เอง
อย่างไรก็ตาม "เน็กซัส เพลเยอร์" นั้นหากจะจับคู่แข่งขันกันจริง ๆ ก็ต้องขึ้นสังเวียนไปซัดกับมวยระดับเดียวกันอย่างเช่น แอปเปิลทีวี, Roku หรือน้องใหม่ เช่น อเมซอนไฟร์ทีวี และคุณสมบัติที่ล้ำหน้ากว่าของเน็กซัส เพลเยอร์ก็คือ การติดตั้งแอปพลิเคชั่นผ่านกูเกิล เพลย์สโตร์ได้ ทำให้ทางเลือกในการเล่นของผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น
ในตลาดนี้มีแอปเปิล ทีวีครองความเป็นเจ้าอยู่อย่างมั่นคงนับตั้งแต่แอปเปิลเปิดตลาดแอปเปิลทีวี มาจนถึงขณะนี้ยอดขายรวมทั้งหมดผ่านระดับ25 ล้านเครื่องไปแล้ว จาก 20 ล้านเครื่องเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว
การเติบโตของแอปเปิลทีวีนั้นน่าทึ่ง และเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนวิถีชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปของคน การหันมาดูทีวีผ่านทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะถ้าจะว่าไปแล้วตั้งแต่แอปเปิลทีวีเปิดตลาดมาครั้งแรกเมื่อปี 2007 ก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรสำคัญ ๆ มากมาย นอกจากการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้มีคุณภาพขึ้นอันเป็นเรื่องปกติ มีการอัพเกรดรุ่นขึ้นมาเรื่อยจนถึงรุ่นที่ 3 เมื่อปี 2012 และก็ไม่มีอะไรใหม่ ๆ จนถึงขณะนี้
แต่ยอดขายแอปเปิลทีวีและวิดีโอรวมกันที่ "ทิม คุ้ก" เคยกล่าวไว้เมื่อปีที่แล้วนั้นถือเป็นธุรกิจใหญ่ที่มีมูลค่าสูงถึงกว่า 1,000 ล้านเหรียญ
รายใหญ่อีกรายซึ่งทำตลาดอยู่ในสหรัฐ คือ Roku ซึ่งมียอดขายกล่องทีวีและยูเอสบีสติ๊กรวมกันในสหรัฐประมาณ 10 ล้านกล่อง เริ่มมาจากปี 2008 ในฐานะกล่องสำหรับดูรายการของเน็ตฟลิกซ์ จนถึงปี 2010 ถึงจะเริ่มเข้าที่เป็นรูปแบบกล่องมาตรฐานอย่างที่คุ้นตากัน และพัฒนามาเรื่อย ๆ
ขณะที่อเมซอนไฟร์ทีวี และเน็กซัส เพลเยอร์นับเป็นน้องใหม่ที่เข้ามาในตลาด และหากดูคุณสมบัติในการเล่นแล้วเน็กซัส เพลเยอร์ของกูเกิลค่อนข้างน่าจับตาตรงที่ผู้ใช้งานมีอิสระในการเล่นมากกว่า เพราะไม่ได้จำกัดเฉพาะแอปของผู้ให้บริการทีวีทางอินเทอร์เน็ตเหมือนกล่องของเจ้าอื่น ๆ แต่สามารถไปเลือกหาเกมและแอปอีกมากมายผ่านแอปสโตร์มาได้เอง
แม้ว่าตั้งแต่เปิดตัวเป็นต้นมากระแสเสียงตอบรับเบาบางมากส่วนหนึ่งเนื่องมาจากติดขัดปัญหาตั้งแต่2-3วันแรกที่เริ่มขายผ่านกูเกิล เพลย์สโตร์ จนถึงกับถอนการขายออกไปก่อนจะกลับมาขายผ่านช่องทางเดียว
การเพิ่มช่องทางการขายผ่านเครือข่ายร้านเบสต์บายรวมทั้งร้านออนไลน์จึงเป็นก้าวย่างที่น่าสนใจราคาที่ตั้งไว้99 เหรียญก็เป็นราคาที่แข่งขันได้สบายมากอยู่แล้ว
เมื่อพูดถึงกล่องแอนดรอยทีวีปัจจุบันในบ้านเรา คนเริ่มรู้จักมากขึ้นในฐานะตัวเลือกหนึ่งของการหาความบันเทิงผ่านทางอินเทอร์เน็ต ที่เข้ามาทำตลาดกันอย่างเป็นทางการอยู่เท่าที่เห็นก็อย่างเช่น ลอจิเทค เป็นต้น เมื่อกูเกิลลงมาทำเอง กล่องแอนดรอยทีวียี่ห้ออื่น ๆ ที่มีตามท้องตลาดก็ต้องเผชิญกับคู่แข่งที่น่ากลัวเป็นพิเศษ ตอนนี้เน็กซัส เพลเยอร์ขายผ่านกูเกิล เพลย์สโตร์ ที่ค่อนข้างมีปัญหาในการเข้าถึงของลูกค้า เพิ่งจะเริ่มขยายเข้าไปขายผ่านเครือข่ายเบสต์บายเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมานี้เอง
อย่างไรก็ตาม "เน็กซัส เพลเยอร์" นั้นหากจะจับคู่แข่งขันกันจริง ๆ ก็ต้องขึ้นสังเวียนไปซัดกับมวยระดับเดียวกันอย่างเช่น แอปเปิลทีวี, Roku หรือน้องใหม่ เช่น อเมซอนไฟร์ทีวี และคุณสมบัติที่ล้ำหน้ากว่าของเน็กซัส เพลเยอร์ก็คือ การติดตั้งแอปพลิเคชั่นผ่านกูเกิล เพลย์สโตร์ได้ ทำให้ทางเลือกในการเล่นของผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น
ในตลาดนี้มีแอปเปิล ทีวีครองความเป็นเจ้าอยู่อย่างมั่นคงนับตั้งแต่แอปเปิลเปิดตลาดแอปเปิลทีวี มาจนถึงขณะนี้ยอดขายรวมทั้งหมดผ่านระดับ25 ล้านเครื่องไปแล้ว จาก 20 ล้านเครื่องเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว
การเติบโตของแอปเปิลทีวีนั้นน่าทึ่ง และเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนวิถีชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปของคน การหันมาดูทีวีผ่านทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะถ้าจะว่าไปแล้วตั้งแต่แอปเปิลทีวีเปิดตลาดมาครั้งแรกเมื่อปี 2007 ก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรสำคัญ ๆ มากมาย นอกจากการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้มีคุณภาพขึ้นอันเป็นเรื่องปกติ มีการอัพเกรดรุ่นขึ้นมาเรื่อยจนถึงรุ่นที่ 3 เมื่อปี 2012 และก็ไม่มีอะไรใหม่ ๆ จนถึงขณะนี้
แต่ยอดขายแอปเปิลทีวีและวิดีโอรวมกันที่ "ทิม คุ้ก" เคยกล่าวไว้เมื่อปีที่แล้วนั้นถือเป็นธุรกิจใหญ่ที่มีมูลค่าสูงถึงกว่า 1,000 ล้านเหรียญ
รายใหญ่อีกรายซึ่งทำตลาดอยู่ในสหรัฐ คือ Roku ซึ่งมียอดขายกล่องทีวีและยูเอสบีสติ๊กรวมกันในสหรัฐประมาณ 10 ล้านกล่อง เริ่มมาจากปี 2008 ในฐานะกล่องสำหรับดูรายการของเน็ตฟลิกซ์ จนถึงปี 2010 ถึงจะเริ่มเข้าที่เป็นรูปแบบกล่องมาตรฐานอย่างที่คุ้นตากัน และพัฒนามาเรื่อย ๆ
ขณะที่อเมซอนไฟร์ทีวี และเน็กซัส เพลเยอร์นับเป็นน้องใหม่ที่เข้ามาในตลาด และหากดูคุณสมบัติในการเล่นแล้วเน็กซัส เพลเยอร์ของกูเกิลค่อนข้างน่าจับตาตรงที่ผู้ใช้งานมีอิสระในการเล่นมากกว่า เพราะไม่ได้จำกัดเฉพาะแอปของผู้ให้บริการทีวีทางอินเทอร์เน็ตเหมือนกล่องของเจ้าอื่น ๆ แต่สามารถไปเลือกหาเกมและแอปอีกมากมายผ่านแอปสโตร์มาได้เอง
แม้ว่าตั้งแต่เปิดตัวเป็นต้นมากระแสเสียงตอบรับเบาบางมากส่วนหนึ่งเนื่องมาจากติดขัดปัญหาตั้งแต่2-3วันแรกที่เริ่มขายผ่านกูเกิล เพลย์สโตร์ จนถึงกับถอนการขายออกไปก่อนจะกลับมาขายผ่านช่องทางเดียว
การเพิ่มช่องทางการขายผ่านเครือข่ายร้านเบสต์บายรวมทั้งร้านออนไลน์จึงเป็นก้าวย่างที่น่าสนใจราคาที่ตั้งไว้99 เหรียญก็เป็นราคาที่แข่งขันได้สบายมากอยู่แล้ว
Cr : ประชาชาติธุรกิจ
เว็บเกี่ยวข้อง : http://100gadgets.ucoz.com/index/android_box/0-4
http://gadget-trend.zyro.com/Android-TV/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น