เครื่องวัดความดันโลหิต(Blood Pressure Meter)
เครื่องวัดความดันแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- เครื่องวัดความดันแบบปรอท เป็นเครื่องมือมาตรฐานที่นิยมใช้ในโรงพยาบาล ประกอบด้วยสายรัดแขนที่ทำให้พองได้เชื่อมต่อกับลูกยางที่ใช้บีบและ แท่งแก้วที่บรรจุปรอทอยู่ภายใน หลักการทำงานของเครื่องใช้แรงโน้มถ่วงของโลก โดยบีบลมเข้าไปจากนั้นสังเกตปรอทในแท่งแก้วขณะที่ปลดปล่อยแรงดันอากาศ จากแรงดันสูงสุดและต่ำสุดสามารถอ่านค่าความดันโลหิตในหน่วยของมิลลิเมตรปรอท ในการติดตั้งเครื่องจำเป็นต้องตั้งเครื่องในแนวระราบเดียวกับพื้นเพื่อความ แม่นยำในการอ่านค่า ควรระมัดระวังในการใช้อย่าให้แท่งแก้วที่บรรจุปรอทแตก และสิ่งสำคัญผู้อ่านค่าจากเครื่องวัดความดันแบบปรอทจำเป็นต้องได้รับการฝึก อบรม
- เครื่องวัดความดันแบบขดลวด เป็นเครื่องมือที่มีกลไกซับซ้อนขึ้น บางชนิดเชื่อมต่อกับหูฟังของแพทย์ ต้องใช้ทักษะในการฟัง (ไม่สามารถใช้งานได้ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังรบกวน) แต่บางชนิดอ่านค่าจากจอมอนิเตอร์ น้ำหนักเบา พกพาได้ แต่ยังจำเป็นต้องบีบลมเข้าไปด้วยตนเอง และยังต้องตรวจสอบความแม่นยำเทียบกับเครื่องวัดความดันแบบปรอท
- เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล เป็นเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นให้ใช้งานได้ง่ายสะดวก เหมาะกับการวัดด้วยตนเอง น้ำหนักเบาพกพาได้ สามารถอ่านค่าความดันโลหิตจากจอมอนิเตอร์โดยตรงและไม่ต้องบีบลมเข้าด้วยตน เอง บางชนิดสามารถอ่านค่าอัตราการเต้นของหัวใจรวมถึงมีหน่วยความจำบันทึกข้อมูล ความดันที่ได้ในแต่ละครั้งเปรียบเทียบกัน และยังต้องตรวจสอบความแม่นยำเทียบกับเครื่องวัดความดันแบบปรอท
- เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอลมีทั้งแบบที่วัดข้อมือ และต้นแขน ซึ่งค่าความดันที่ใกล้เคียงความจริงที่สุดควรมาจากการวัดความดันที่ต้นแขน ซึ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ใกล้หัวใจรวมทั้งอยู่ในระดับเดียวกับหัวใจอีกด้วย ในการเลือกซื้อเครื่องวัดความดันควรเลือกเครื่องที่ผ่านการรับรองหรือผ่าน การตรวจวัดเครื่องว่าได้รับมาตรฐานจากสถาบันที่น่าเชื่อถือ อาทิเช่น American Association of medical Instrument; AAMI, British Hypertension Society; BHS และ International Protocol of the European Society of Hypertension; ESH เป็นต้น
เว็บเกี่ยวข้อง : เครื่องวัดความดัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น