วันประวัติศาสตร์ ณ วันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1972 (พ.ศ 2515) ยานอพอลโล 16 ออกเดินทางไกลในระยะทาง 384,404 กิโลเมตร เป็นการเดินทางไปดวงจันทร์ครั้งแรกของปี ค.ศ. 1972 และเป็นการเดินทางไปลงบนดวงจันทร์ครั้งที่ 5 ของโครงการอพอลโล ถึงแม้ยานอวกาศอพอลโลจะมีประสบการณ์ในการเดินทางไปดวงจันทร์มาแล้วหลายครั้ง แต่จุดมุ่งหมายของ NASA สำหรับการท่องอวกาศในครั้งนี้คือนำรถสำรวจดวงจันทร์ LUNAR ROVERออกวิ่งสำรวจและเก็บตัวอย่างของหินบนดวงจันทร์เพื่อนำมันกลับมา วิเคราะห์ถึงส่วนประกอบและแร่ธาตุที่อยู่ในหินรวมถึงการตรวจสอบสภาพ ภูมิประเทศในบริเวณที่ยานโอเรียนร่อนลงจอด

รถสำรวจดวงจันทร์ LUNAR ROVER เกิดขึ้นจากมันสมองของทีมวิศวกรของ NASA ในโครงการสำรวจอวกาศ MERCURY ที่มีไอเดียในการใช้รถสำรวจน้ำหนักเบาเพื่อเก็บตัวอย่างของวัตถุบนดวงจันทร์ เช่นดิน, ฝุ่น เศษหินที่เกิดจากการชนปะทะของอุกาบาตซึ่งมีอยู่ทั่วไปบนพื้นผิวของดวงจันทร์ นักบินอวกาศไม่สามารถนำหินเหล่านั้นกลับมาได้ในปริมาณมากๆ เนื่องจากน้ำหนักและเวลาในการออกไปเดินสำรวจที่มีข้อจำกัดในพื้นที่ที่กว้าง ใหญ่ไพศาลในบริเวณที่ยานร่อนลงจอด รวมถึงสภาวะแรงโน้มถ่วงที่น้อยกว่าบนพื้นโลกถึงหนึ่งในหกทำให้การเคลื่อนที่ ด้วยการเดินเท้าของนักบินอวกาศจะช้าลงและไม่สามารถไปได้ไกลจากตัวยาน การลงทุนสร้างจักรกลที่สามารถขับเคลื่อนไปในสภาพแรงโน้มถ่วงที่น้อยกว่าบน โลกมาก และใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ในยุค 1970 ยังคงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากและใช้เงินงบประมาณสูงมาก โครงการรถ รถสำรวจดวงจันทร์ LUNAR ROVER ใช้เงินในการพัฒนาและสร้างสูงถึง 38 ล้านเหรียญ ซึ่งในยุคนั้นถือได้ว่ามีมูลค่ามหาศาลเลยทีเดียว

รถสำรวจ ดวงจันทร์ LUNAR ROVER ถูกสร้างขึ้นมาทั้งหมดสี่คัน สามคันที่ออกเดินทางไปสำรวจดวงจันทร์ถูกจอดทิ้งไว้ในบริเวณที่ยานร่อนลงจอด อีกหนึ่งคันที่เหลืออยู่และเป็นรถต้นแบบถูกนำมาจัดแสดงไว้ที่สถาบัน SMITHSONIAN ในกรุง WASHINGTON  รถสำรวจดวงจันทร์ LUNAR ROVER เกิดจากการร่วมมือกันของวิศวกรจาก NASA, บริษัทอากาศยานยักษ์ใหญ่ของอเมริกัน BOEING และค่ายรถชั้นนำ GENERAL MOTOR หรือ GM เนื่องจากมีเวลาในการคิดค้น พัฒนาและสร้างไม่มากนัก รถสำรวจดวงจันทร์ LUNAR ROVER ทั้งสี่คันจึงถูกสร้างขึ้นในเวลาเพียง 17 เดือนด้วยความรีบเร่ง ซึ่งในยุคนั้นถือเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำหน้ามาก พวกมันทั้งสี่คันถูกประกอบจากอะลูมินัมอัลลอยที่วัดขนาดและประกอบด้วย เครื่องมือวัด ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) ที่ลงตัว มอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็ก ระบบขับเคลื่อนและบังคับเลี้ยวเป็นอะลูมินัมอัลลอยทั้งหมด ล้อของ รถสำรวจดวงจันทร์ LUNAR ROVER ทำจากเส้นใยอะลูมิเนียมเส้นเล็กๆ นำมาถักให้เป็นรูปล้อทรงกลมวัดขนาดให้เหมาะสมเนื่องจากการใช้ยางจริงในการ วิ่งจะมีน้ำหนักมากจนเกินจากปริมาตรน้ำหนักตัวรถที่วิศวกรทำการคำนวณกันไว้ ในการบรรทุกไปกับตัวยานบริเวณด้านข้างในห้องสำหรับเก็บของขนาดเล็กที่ต้อง พับเก็บตัวรถทั้งคันและนำออกมาประกอบเมื่อถึงจุดหมาย

รถสำรวจดวง จันทร์ LUNAR ROVER จะถูกพับเก็บไว้บริเวณด้านข้างของยานสำรวจโอเรียนในระหว่างการเดินทางไปดวง จันทร์ น้ำหนักโดยรวมของตัวรถทั้งคันอยู่ที่ 200 กิโลกรัม และจะเพิ่มเป็น 250 กิโลกรัมเมื่อติดตั้งอุปกรณ์เสริม ระบบกล้องโทรทัศน์ที่ถูกติดตั้งอยู่บนตัวรถจะถ่ายทอดสดการทำงานของนักบิน อวกาศและสภาพความเป็นไปรอบๆตัวยาน เพื่อจะให้เจ้าหน้าที่และเหล่าบรรดาวิศวกรที่คอยควบคุมการออกเดินบนพื้นผิว ของดวงจันทร์สามารถเฝ้ามองดู และให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์กับนักบินอวกาศในทันทีที่พบกับปัญหา การที่มีฝุ่นฟุ้งกระจายจากการเคลื่อนที่ของล้อ ก็หมายถึงตัวกล้องที่ติดตั้งอยู่จะต้องได้รับการทำความสะอาดอยู่ตลอดเวลา ล้อแต่ละข้างของ รถสำรวจดวงจันทร์ LUNAR ROVER ถูกขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็กที่ให้กำลังสูงจาก แบตเตอรี่สำรอง ขนาด 36 โวลต์จำนวนสองลูก ซึ่งเพียงพอต่อการวิ่งเป็นระยะทางถึง 40 ไมล์ ด้วยความเร็ว 11 ไมล์ต่อชั่วโมง และสามารถไต่ขึ้นเนินที่มีความชันถึง 35 องศาได้อย่างสบาย โดยให้นักบินอวกาศขับ รถสำรวจดวงจันทร์ LUNAR ROVER ทแยงไปมาเป็นรูปตัวเอสเพื่อไต่ขึ้นเนินที่มีความชันไม่มากนัก

เมื่อ นำมันออกวิ่งบนพื้นผิวของดวงจันทร์ที่มีแรงดึงดูดน้อยกว่าโลกหนึ่งในหกจะทำ ให้มันเหลือน้ำหนักเพียง 41 กิโลกรัมเท่านั้นจากน้ำหนักรถทั้งคันที่ 250 กิโลกรัมบนโลก  จากรายงานของนักบินอวกาศที่ทำการขับขี่พบปัญหาจากการออกแบบคือบังโคลนของตัว รถจึงจำเป็นที่จะต้องถอดออกเนื่องจากฝุ่นบนดวงจันทร์ที่ถูกล้อของยาน LUNAR MOVER ตะกุยจนฟุ้งกระจายและเกาะติดไปทั่วบริเวณบังโคลนและตัวล้อ ฝุ่นที่ฟุ้งกระจายนี้มาจากแร่กราไฟต์และมันจะเกาะติดไปทั่วทั้งคันจนไม่ สามารถขับเคลื่อนได้อีก หากเป็นแรงดึงดูดปกติบนโลก ปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถแก้ไขได้โดยง่าย แต่ในสภาวะอุณหภูมิ 108 องศาเซลเซียส ซึ่งแม้แต่น้ำยังกลายเป็นไอ และแรงดึงดูดที่ต่ำกว่าบนพื้นโลกถึงหนึ่งในหก ฝุ่นผงเหล่านี้กลับก่อให้เกิดปัญหาใหญ่จนตัวรถไม่สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ อีกหากไม่ได้รับการแก้ไขดัดแปลงบริเวณบังโคลน ชุดนักบินอวกาศของ NASA จะลดความร้อนจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ในอวกาศที่ไม่มีชั้นบรรยากาศ คอยกรองรังสีคอสมิคอันรุนแรงและอันตรายบนดวงจันทร์ด้วยการฉาบสารสีขาวซึ่งจะ ช่วยสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์ หากตัวรถ รถสำรวจดวงจันทร์ LUNAR ROVER มีฝุ่นผงกราไฟต์เกาะติดอยู่ก็จะทำให้การสะท้อนความร้อนที่เกิดขึ้นทำได้ไม่ ดีนัก อุณหภูมิภายในชุดนักบินอวกาศจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

การ ขับขี่รถ รถสำรวจดวงจันทร์ LUNAR ROVER ไปบนพื้นผิวของดวงจันทร์โดยการใช้ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ ติดอยู่ในล้อแต่ละข้างทั้งสี่ตัวเป็นไปด้วยความยากลำบาก บางครั้งล้อปะทะเข้ากับก้อนหินที่มีอยู่ทั่วไปบนดวงจันทร์ทำให้มันลอยขึ้น จากพื้นบ่อยครั้ง จุดประสงค์ของรถ รถสำรวจดวงจันทร์ LUNAR ROVER ทั้งสามคันที่นำขึ้นไปในการสำรวจพื้นผิวของดวงจันทร์สามครั้ง (ยานโอเรียนสามารถบรรทุกรถ รถสำรวจดวงจันทร์ LUNAR ROVER ได้ครั้งละหนึ่งคันเท่านั้น) ทำให้นักบินอวกาศสามารถขับออกไปสำรวจพื้นที่ได้ไกลกว่าการเดินเท้า ตัวแบตเตอรี่สำรองพลังงานสูงทำให้สามารถเดินทางเป็นระยะทางไกลถึง 36 กิโลเมตร แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องปริมาณออกซิเจนที่ทำให้นักบินอวกาศไม่กล้าที่จะขับมัน ไปไกลจนถึงระยะทางขนาดนั้นเนื่องจากกังวลว่า ถ้าเกิดปัญหาขึ้นกับตัวรถในขณะที่ขับมันออกไปไกลจากตัวยานและไม่สามารถแก้ไข ได้ อาจต้องเดินเท้ากลับไปที่ตัวยานซึ่งเป็นระยะทางไกลมากและอาจก่อให้เกิด เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น เช่นระบบออกซิเจนในชุดนักบินอวกาศที่ขัดข้อง การออกสำรวจอวกาศในครั้งนี้คงต้องจบลงและกลายเป็นเพียงสุสานราคาแพงบนดวง จันทร์ก็อาจเป็นได้

เวลา 19.15 น. ของวันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน ยานโอเรียนส่วนบนเตรียมตัวเดินทางออกจากดวงจันทร์เพื่อกลับสู่โลกหลังจาก เสร็จสิ้นภารกิจ กล้องโทรทัศน์บนรถ รถสำรวจดวงจันทร์ LUNAR ROVER ซึ่งจอดทิ้งไว้ใกล้ๆ ยานโอเรียนส่วนล่าง จับภาพการเดินทางขึ้นจากดวงจันทร์ของยานโอเรียนบนจอโทรทัศน์ที่สถานีอวกาศ ฮุสตันมองเห็นยานพุ่งตัวขึ้นไป ทิ้งฝุ่นตลบอยู่ที่พื้นดิน จอห์น ยัง, ชาร์ล ดุ๊ก และโธมัส แมททิงลี ลูกเรือของอพอลโล 16 เดินทางกลับถึงโลกในวันที่ 27 เมษายน รวมนับตั้งแต่เดินทางออกจากโลก จนกลับถึงโลก 265 ชั่วโมง 51 นาที 05 วินาที

จากภารกิจการสำรวจพื้นผิวของดวงจันทร์ด้วยความช่วยเหลือ ของรถ รถสำรวจดวงจันทร์ LUNAR ROVER ทำให้นักบินอวกาศสามารถเก็บตัวอย่างของ ฝุ่น และเศษหิน กลับมายังโลกได้น้ำหนักถึง 113 กิโลกรัม และภารกิจสุดท้ายของรถ รถสำรวจดวงจันทร์ LUNAR ROVER ก็เสร็จสิ้นลงเมื่อมันถูกขับขี่ไปยังจุดหมายที่อยู่ห่างจากยานสำรวจโอเรียน พอสมควร ณ จุดนั้นเองที่กล้องโทรทัศน์ที่ติดอยู่บนรถได้ทำการถ่ายทอดสดผ่านสายตาของ มนุษย์บนโลกกว่าพันล้านคน ให้เห็นนักบินอวกาศทั้งสองนาย กำลังขุดเจาะพื้นผิวของดวงจันทร์อย่างอ่อนระโหยโรยแรง ภาพของนักบินทั้งสองคนกำลังก้าวขึ้นไปบนยานโอเรียนเพื่อเดินทางกลับสู่โลก และภาพในช่วงสุดท้ายก่อนที่ระบบกล้องถ่ายทอดสดบนตัวรถจะยุติการทำงานลงเป็น ภาพยานโอเรียนส่วนบนจุดระเบิดเครื่องยนต์พร้อมทั้งพุ่งทะยานขึ้นสู่อวกาศอัน มืดมิดเพื่อเดินทางกลับบ้านโดยมีรถ รถสำรวจดวงจันทร์ LUNAR ROVER ถูกจอดทิ้งไว้ให้เป็นประวัติศาสตร์ในการสำรวจอวกาศยุคแรกๆ ของมนุษยชาติ

Cr.ไทยรัฐ,NASA