พลังงานแสงอาทิตย์ถูกใช้งานอย่างมากแล้วในหลายส่วนทั่วทุกมุมโลก เช่นมาทำเป็นโคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์ หรือแบตเตอร์รีสำรองพลังแสงอาทิตย์ ฯลฯแถมมีศักยภาพในการผลิตพลังงานมากพอสมควร หากใช้ประโยชน์และนำมาพัฒนาอย่างเหมาะสม พลังงานแสงอาทิตย์ก็สามารถนำมาใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าหรือ สำหรับทำความร้อน หรือแม้แต่ทำความเย็น หรือแสงสว่างตามที่กล่าวมาแล้ว ศักยภาพในอนาคตของพลังงานแสงอาทิตย์นั้นถูกพัฒนาไปอีกขึ้นหนึ่งโดยประเทศที่ ถูกจำกัดด้วยพื้นที่ อย่างประเทศสิงค์โปร

ปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าสิงคโปร์มีความเชี่ยวชาญการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนบกมากแล้ว ไม่ว่าจะติดตั้งบนหลังคา หรือ สิ่งก่อสร้างขนาดยักษ์ อย่างซุปเปอร์ทรี ตั้งอยู่ในสวนมารีนาเบย์ กระชากความสนใจจากผู้คนทั่วโลกด้วยความก้าวหน้าล่าสุดของประเทศ  ส่วนผลผลิตไฟฟ้าจาก 30 เมกะวัตต์เมื่อปลายปี 2557 คาดว่าปลายปีนี้จะเพิ่มเป็น 130 เมกะวัตต์ และเพิ่มเป็น 350 เมกะวัตต์ในอีก 5 ปีข้างหน้า หรือประมาณร้อยละ 5 ของความต้องการในช่วงชั่วโมงใช้ไฟฟ้าสูงสุด

ในอนาคตสิงคโปร์จะใช้ พลังงานที่ได้จากธรรมชาติและสะอาด โดยเฉพาะแสงอาทิตย์กับลม ซึ่งขณะนี้พลังงานแสงอาทิตย์ของสิงคโปร์ก้าวหน้าอย่างมาก เพราะการวิจัยได้พ้นขั้นพื้นฐานไปแล้ว คือจากการผลิตและติดตั้ง ขยับไปที่ผลกระทบที่อาจเกิดจากการใช้ เพื่อขยายการผลิตและใช้ให้ได้มากกว่าเดิม

โครงการหนึ่งที่กำลังวิจัย คือ การติดตั้งระบบผลิตกระแสไฟฟ้าลอยน้ำในบ่อน้ำและอ่างเก็บน้ำ เพื่อค้นหาวิธีนำแผงโซลาร์เซลล์ไปใช้ประโยชน์ ถ้าทำสำเร็จสิงคโปร์จะมีพื้นที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพิ่มมากขึ้นบนพื้นผิว น้ำ สามารถให้พลังงานไฟฟ้า หรือแสงสว่างผ่านโคมไฟโซล่าเซลล์ตามชายฝั่งยามคำคืน หรือเก็บสำรองพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอร์รีสำรองได้

ฟัง ดูแล้วง่าย แต่ความจริงไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะปรกติน้ำกับไฟไม่ค่อยเป็นมิตรกันอยู่แล้ว ในน้ำยังมีวัชพืชและสัตว์ที่อาจส่งผลกระทบได้ จึงต้องค้นคว้าระบบบริหารจัดการที่ทำให้ไม่กระทบระบบการติดตั้ง โดยระบบที่ทดลองมีขนาด 5 กิโลวัตต์ ไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่งตรงไปยังพื้นที่บนบกผ่านเคเบิลใต้น้ำ ซึ่งทั้งหมดผลิตในสิงคโปร์ ทั้งยังได้รับการบริจาคจากบริษัทผู้ผลิตอีกด้วย

ส่วน อีกโครงการเป็นการวิจัยการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อค้นหาว่าแผงโซลาร์เซลล์ควรอยู่เหนือน้ำเท่าไรเพื่อให้การผลิตมี ประสิทธิภาพสูงที่สุด หลักการคือยิ่งอุณหภูมิเย็นมากเท่าไร ประสิทธิภาพจะยิ่งมากเท่านั้น นี่เป็นอีกเหตุผลว่าทำไมสิงคโปร์จึงสนใจติดตั้งระบบในบ่อน้ำและอ่างเก็บน้ำ ทั้งยังคิดจะติดตั้งในทะเล เพราะโครงการนี้มีการวิจัยผลกระทบที่น้ำทะเลมีต่อระบบรวมอยู่ด้วย

ทั้ง นี้ ทั้ง 2 โครงการใช้งบประมาณ 11 ล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือเกือบ 300 ล้านบาท โดยผู้นำในการวิจัย ได้แก่ สภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติกับองค์การจัดการน้ำแห่งชาติ ส่วนผู้บริหารจัดการโครงการคือ สถาบันวิจัยพลังงานแสงอาทิตย์แห่งสิงคโปร์

ขณะ ที่บริษัทผลิตแผงโซลาร์เซลล์และอุปกรณ์ต่างพากันก่อตั้งกลุ่มเข้าร่วมการวิ จัย โดยคาดการณ์ว่าภายในปีหน้ากลุ่มดังกล่าว 6 กลุ่ม จะติดตั้งระบบผลิตกระแสไฟฟ้าลอยน้ำที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์ได้สำเร็จ ซึ่งจะดึงดูดให้บริษัทต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญในด้านที่สิงคโปร์ยังไม่ เชี่ยวชาญเข้ามาร่วม เพื่อยกระดับการวิจัยให้มากขึ้นจนสามารถนำระบบลอยน้ำไปติดตั้งในทะเลได้

ปริมาณ การผลิตอาจยังดู น้อย แต่ถ้าดูผลพลอยได้ทั้งการสร้างองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ การสร้างโอกาส สร้างคน และสร้างงาน ถือว่ามีมากจนไม่อาจประเมินได้ ยังไม่รวมถึงด้านความมั่นคงที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์แบบพกพาและใช้ประจำหน่วยรบ ที่กำลังมีการพัฒนาอย่างขะมักเขม้นด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

Cr.โลกวันนี้,อยากใช้พลังงานแสงอาทิตย์