วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558

'วีระ'ปรับ3หน่วยยุคโบราณเป็น'ดิจิทัล'

 นายวีระ โรจน์พจนรัตน์,กระทรวงวัฒนธรรม,พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

"วีระ” คืนชีวิตภาพเก่า 20,000 ภาพ อายุกว่า 100 ปีผ่านออนไลน์ หลังสั่งปรับ 3 หน่วยทำงานแบบดิจิทัล

หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เน้นเข้าถึงข้อมูลสะดวก รวดเร็ว ทันสมัย ค้นหาข้อมูล-หนังสือออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ) กล่าวว่า วธ. มอบหมายให้ 3 หน่วยงานของกรมศิลปากร ได้แก่ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำนักหอสมุดแห่งชาติ และสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จัดทำโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและให้บริการประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ สะดวกรวดเร็วและทันสมัย โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งขับเคลื่อนให้ประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล โดยการพัฒนาหอสมุดแห่งชาติ เน้น 4 โครงการ ได้แก่ 

1.การแปลงและนำเข้าข้อมูล 

2.พัฒนาระบบริการห้องสมุดดิจิทัลในรูปแบบ Mobile ค้นหาหนังสือออนไลน์ผ่านสื่อดิจิทัลแบบพกพาสมาร์ทโฟน 

 3.พัฒนาระบบนำเสนอห้องสมุดดิจิทัล (Digital Zone)

 4.เพิ่มประสิทธิภาพระบบสารสนเทศ ให้บริการเอกสารโบราณ หนังหายาก แผนที่ในรูปแบบดิจิทัล รวมไปถึงบริการออกเลขมาตราฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) ในแต่ละปีกว่า 100,000 เล่มด้วย

รมว.วัฒนธรรม กล่าวต่อไปว่า สำหรับการพัฒนาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ขณะนี้ สามารถให้บริการเอกสารออนไลน์ได้แล้ว 886 รายการ อีกทั้งยังแปลงแผ่นฟิล์ม 30,000 แผ่น และสามารถให้บริการในระบบดิจิตอลออนไลน์ 15,000 แผ่น รวมถึงภาพเก่าอีก 20,000 ภาพ เป็นการให้บริการประชาชนมาศึกษาค้นคว้าแทนการใช้การค้นหาบัญชีแบบเดิม ซึ่งจะส่งผลดีต่อการอนุรักษ์เอกสารหอจดหมายเหตุที่มีอายุเป็นร้อยๆปี ส่วนการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เน้น 2 โครงการ 

1.โครงการพิพิธภัณฑ์ปฏิสัมพันธ์เสมือนจริง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของพิพิธภัณฑสถานให้ดูทันสมัย น่าเรียนรู้ น่าสนใจ โดยการพัฒนาและสร้างแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติ โดยใช้สื่อสมัยใหม่ ได้แก่ อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน และ

2.โครงการนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติดิจิทัล โดยใช้สมาร์ทโฟนในการเพิ่มความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่และประชาชนในการนำ เทคโนโลยีมาใช้เพื่อการนำชมพิพิธภัณฑสถาน

“การพัฒนาเข้าสู่ระบบดิจิทัล จะต้องมีการพัฒนาระบบฮาร์ดแวร์ ในเรื่องของอุปกรณ์แม่ข่าย เครื่องสแกนหนังสือ เครื่องสแกนเอกสารโบราณ เครื่องสแกนแผนที่ ซอฟแวร์ในการแปลงและปรับแต่งเอกสาร ในการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบออนไลน์ด้วย เพื่อให้บริการในการเข้าถึงข้อมูลและการศึกษาค้นคว้า รวมถึงการพัฒนาระบบการรักษาความปลอดภัย เป็นการพัฒนากระบวนการเรียนการให้บริการค้นคว้าหนังสือ จดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในรูปแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น”นายวีระ กล่าว

Cr  :  กรุงเทพธุรกิจ

เว็บเกี่ยวข้อง : เครื่องสแกน 
                   เครื่องสแกนแบบพกพา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น