สตาร์เชดส์ ค้นหาดาวเคราะห์
โครงการ "สตาร์เชดส์ (Starshade)" ค้นหาดาวเคราะห์ เป็นโครงการที่แอนโธนี ฮาร์เนสส์ นักศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยโคโลราโด เมืองบุลเดอร์ สหรัฐอเมริกา คิดค้นระบบที่ทำงานร่วมกับกล้องโทรทรรศน์อวกาศเพื่อช่วยให้กล้องโทรทรรศน์ เหล่านั้นสามารถตรวจสอบพบดาวเคราะห์ในกาแล็กซีที่ห่างไกลได้ดีขึ้น และสามารถถ่ายภาพได้ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม

โครงการ "สตาร์เชดส์ (Starshade)" เป็นโครงการที่ฮาร์เนสส์ออกแบบและดำเนินการทดสอบร่วมกับทิฟฟานี กรอสส์แมน และสตีฟ วอร์วิค ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินอวกาศจากบริษัท นอร์ธร็อป กรัมแมน เพื่อทดสอบการใช้งานของสตาร์เชดส์ (Starshade)บนพื้นโลกเพื่อพิสูจน์หลักการทำงานก่อนที่ จะเดินหน้าโครงการเต็มตัวร่วมกับโครงการสำรวจและศึกษาดาวเคราะห์ที่มีสภาพ ใกล้เคียงกับโลกในกาแล็กซีอื่นๆ ที่เรียกว่าโครงการ "เอ็กโซ-เอส" โดยมีมูลค่าของโครงการสูงถึง 1,000 ล้านดอลลาร์

"สตาร์เชดส์ (Starshade)" ค้นหาดาวเคราะห์ เกิดขึ้นจากความเป็นจริงที่ว่า เมื่อใดก็ตามที่เราหมุนกล้องโทรทรรศน์เข้าหาดาวฤกษ์สักดวง ความสว่างจ้าของมันที่วัดได้จาก เครื่องวัดแสง (LUX Meter) จะมากเสียจนกลบแสงสะท้อนจากดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่โดยรอบ จนเกือบหมด เนื่องจากแสงที่สะท้อนออกมาจากดาวเคราะห์ทั้งหลายซึ่งไม่มีแสงสว่างในตัวเอง นั้นเบาบางกว่าแสงที่ดาวฤกษ์เปล่งออกมาจากตัวของมันเองได้มากที่สุดถึง 1,000 เท่า ทำให้การค้นหาดาวเคราะห์เหล่านั้นเป็นไปได้ยาก และการถ่ายภาพยิ่งยากมากขึ้นไปอีก

หลักการทำงานของสตาร์เชดส์ (Starshade) ค้นหาดาวเคราะห์ คล้ายๆ กับการทำงานพื้นฐานของเราเองเมื่อเรายกมือขึ้นป้องตาเพื่อลดแสงสว่างของดวง อาทิตย์ที่เข้าสู่ตาของเราลง แล้วทำให้เราสามารถมองเห็นอะไรๆ ได้ชัดเจนขึ้นนั่นเอง "สตาร์เชดส์ (Starshade)" ก็จะทำหน้าที่แบบเดียวกัน คือ ทำหน้าที่บังแสงของดาวฤกษ์และเป็น เครื่องวัดแสง (LUX Meter)ให้กับกล้องโทรทรรศน์ ขนาดของมันอาจหลากหลายแตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไป "สตาร์เชดส์ (Starshade)" ควรมีขนาดกว้างราวๆ 30 เมตร และจะโคจรอยู่ห่างจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเพื่อทำงานควบคู่กันเป็นระยะทางนับ หมื่นๆ ไมล์ก็ได้

ลักษณะของสตาร์เชดส์ (Starshade) จะไม่เป็นทรงกลมสมบูรณ์ แต่จะมีแผ่นโลหะลักษณะเหมือนกับกลีบดอกไม้เรียงต่อกัน เพื่อให้ริมขอบมีความนุ่มนวลลง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการโค้งงอของแสงน้อยลง ทำให้ส่วนที่เป็นเงามีความมืดมากขึ้น

สตาร์เชดส์ (Starshade) สามารถใช้งานร่วมกับ กล้องโทรทรรศน์อวกาศใดๆ ก็ได้ ตั้งแต่กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ เรื่อยไปจนถึงกล้องโทรทรรศน์อวกาศใดๆ ที่จะมีการจัดส่งขึ้นไปสู่วงโคจรในอวกาศในอนาคต

ในการเตรียมการทดสอบ การทำงานของสตาร์เชดส์ (Starshade)จากภาคพื้นดิน ฮาร์เนสส์ใช้กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดิน 2 กล้อง และใช้จรวดนำสตาร์เชดส์ (Starshade) ค้นหาดาวเคราะห์ขึ้นสู่ท้องฟ้าในระดับสูงราว 2 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน บริเวณลำตัวจรวดที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ติดตั้งหลอดไฟแอลอีดีที่ทำหน้าที่ทั้งเป็นตัวกำหนดตำแหน่งที่แน่ชัดของสตา ร์เชดส์ (Starshade) และเป็นจุดทดสอบ โดยทำหน้าที่แทนแสงจากดาวเคราะห์ที่อ่อนจางมากเมื่อเทียบกับแสงสว่างจ้าใน ยามกลางวันของท้องฟ้าในทะเลทรายอันเป็นสถานที่ทดสอบและวัดแสงจากเครื่องมือวัดแสง (LUX Meter)

กล้อง โทรทรรศน์ 2 กล้อง จะทำหน้าที่ถ่ายภาพพื้นที่เดียวกัน กล้องแรกจะถ่ายภาพดังกล่าวเพียงลำพัง กล้องตัวที่สองจะทำงานร่วมกับสตาร์เชดส์ (Starshade) โดยเป้าหมายเปรียบเทียบความสว่างของแสงจากเครื่องวัดแสง (LUX Meter) เทียบกับดวงไฟแอลอีดี

ฮาร์เนสส์เชื่อว่าภาพถ่ายที่ ได้จากกล้องโทรทรรศน์ที่ทำงานร่วมกับสตาร์เชดส์ (Starshade)จะให้ค่าคอนทราสต์สูงกว่า เป็นพันเท่าเมื่อเทียบกลับกล้องที่ทำงานโดยลำพังนั่นเอง


Cr.ประชาชาติธุรกิจ