|
|||
เอเอฟพี/ASTVผู้จัดการ - สื่อต่างประเทศรายงานว่าไทยออกมาตำหนิพันธมิตรเก่าแก่อย่างสหรัฐฯในช่วงค่ำ วันจันทร์(27ก.ค.) หลังถูกเสียดแทงอย่างเจ็บแสบผ่านรายงานของวอชิงตันที่กล่าวหาว่าไทยล้มเหลว ในไม่ดำเนินการอย่างเพียงพอสำหรับปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำสุดในการกำจัด ปัญหาค้ามนุษย์ ระบุไม่สะท้อนถึงความพยายามอย่างยิ่งยวดของรัฐบาลและยืนยันจะเดินหน้าเอาชนะ ความท้าทายต่างๆที่เหลืออยู่ให้จงได้
ไทย ต้องพบว่าตนเองยังคงอยู่ใน "เทียร์ 3" ของรายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons หรือTIP) ของสหรัฐฯ ปี 2015 ที่เผยแพร่ในวันจันทร์ (27 ก.ค.) เช่นเดียวกับอิหร่าน ลิเบีย เกาหลีเหนือ เอธิโอเปียและซีเรีย ในอันดับต่ำสุดที่จัดโดยกระทรวงการต่างประเทศอเมริกา สำหรับประเทศต่างๆที่ถูกกล่าวหาว่าหลับตาให้แก่การค้าที่วอชิงตันให้คำจำกัด ความว่า "ทาสยุคใหม่"
นับเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่ ไทย ถูกจัดอยู่ในอันดับต่ำสุด ซึ่งในรายงานการประเมินของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯประณามว่าไทยยังคงเป็น แหล่งต้นตอ จุดหมายปลายทางและประเทศทางผ่านของเหล่าชาย หญิงและเด็กที่มีแนวโน้มถูกนำไปยังบังคับใช้แรงงานและค้าบริการทางเพศ
อย่างไรก็ตามทางสำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่ากระทรวงการต่างประเทศของ ไทย ออกคำแถลงตอบโต้ในค่ำวันเดียวกันว่าการจัดอันดับไม่สะท้อนอย่างถูกต้องต่อ ความพยายามและความก้าวหน้าในการดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์ของไทยที่เกิด ขึ้นจริงในช่วงปีที่ผ่านมาซึ่งมีก้าวหน้าอย่างมากในหลายด้าน "แม้ยังคงอันดับเดิม แต่ไทยยังคงมุ่งมั่นดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์อย่างจริงจังต่อไป เพื่อความมั่นคงและมนุษยธรรม พร้อมกับเพิ่มพูนความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ตลอดจนขยายความร่วมมือกับประเทศและองค์การระหว่างประเทศต่อไป"
เอเอฟพีรายงานว่าชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ถูกกล่าวหามาช้า นานว่าเหล่าเจ้าหน้าที่ผู้ละเลยสมคบคิดธุรกิจค้ามนุษย์มูลค่าหลายล้าน ดอลลาร์ ซึ่งไม่กี่เดือนที่ผ่านมายังคงเฟื่องฟูอยู่ทั่วจังหวัดต่างๆทางใต้ของประเทศ และทะลักเข้าสู่มาเลเซีย
ปฏิบัติการปราบปรามของไทยในเดือนพฤษภาคม นำมาซึ่งการเปิดโปงเครือข่ายลักลอบค้ามนุษย์อันมโหฬาร ด้วยผู้อพยพหลายพันคนถูกทิ้งไว้กลางทะเลและค่ายกลางป่า วิกฤตที่ท้ายที่สุดบีบให้มีการตอบสนองในวงกว้างทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คนส่วนใหญ่ในกลุ่มผู้อพยพที่พยายามมุ่งหน้าสู่มาเลเซียคือชาวมุสลิม โรฮีนจา ที่หลบหนีการตามประหัตประหารจากพม่า แต่ มาเลเซีย ต่างจากเพื่อนบ้านอย่างไทย ด้วยถูกปรับอันดับขึ้นสู่ขึ้นเทียร์ 2 ส่วน พม่า ลาวและกัมพูชา ยังอยู่ในอันดับเดิม
เมื่อวันศุกร์(24ก.ค.) อัยการในกรุงเทพฯบอกว่าผู้ต้องหา 72 คน ในนั้นรวมถึงเจ้าหน้าที่ทหารระดับอาวุโสถูกบ่งชี้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการ ค้ามนุษย์ อย่างไรก็ตามการปราบปรามในเดือนพฤษภาคม เกิดขึ้นช้าเกินไปที่จะถูกนับรวมเข้ารายงานประจำปี 2015 ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ขณะที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆก็ตั้งคำถามว่าการจับกุมดังกล่าวจะสามารถทลาย การค้าที่หยั่งรากมาช้านานได้จริงหรือ
อุตสาหกรรมการประมงของไทยแปดเปื้อนมาอย่างช้านานจากข้อกล่าวหาต่างๆ เกี่ยวกับการใช้แรงงานทาส ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเหล่าคนงานต่างด้าวที่ขัดสนจากกัมพูชาและพม่า ที่ต้องล่องลอยอยู่กลางทะเลโดยไม่เห็นฝั่งนานเป็นปี
ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นปี อียู ก็เพิ่งขู่ไทยว่าจะห้ามนำเข้าสินค้าประมงจากไทยจนกว่าจะควบคุมภาคการประมง ให้ดียิ่งขึ้น กระตุ้นให้กรุงเทพฯต้องดำเนินการปราบปรามเรือประมงที่ผิดกฎหมายและไม่เป็นไป ตามกฎระเบียบ
Cr : Manager
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น