Photo : businessnewsdaily
อัจฉริยะบุคคลผู้ประดิษฐ์เครื่องถ่ายเอกสารคนแรกของโลก คือ เชสเตอร์ คาร์ลสัน (Chester Carlson) นักฟิสิกส์ชาวสหรัฐอเมริกา นักประดิษฐ์ผู้นี้ได้เรียนรู้ถึงหลักการวัสดุนำแสง เขารู้ว่าเมื่อมีการฉายแสงไปยังวัสดุ จะทำให้เกิดประจุไฟฟ้าขึ้น
คาร์ ลสันได้นำเอาหลักการนี้ไปประยุกต์สร้างเครื่องทำสำเนา ที่ทั้งง่ายและมีราคาถูกกว่าการใช้วิธีโรเนียว และระบบพิมพ์ออฟเซ็ท ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่า และต้องพิมพ์จำนวนมากจึงจะคุ้ม
เขา ได้ศึกษาต่อยอดจากผลงานการค้นคว้าของ พอล เซเลนยี นักฟิสิกส์ชาวฮังกาเรียน ผู้ซึ่งค้นพบมาก่อนเขาว่า แสงจะเพิ่มสภาพการนำไฟฟ้าสถิตของวัตถุ ในขณะที่คาร์ลสันเองได้ค้นพบว่า แสงเมื่อกระทบกับสารเคมีบางอย่าง เช่น กำมะถัน จะทำให้สารนั้นแปรสภาพ เขาจึงนำองค์ความรู้ทั้งสองมาประยุกต์ใช้ใน กระบวนการสร้างภาพด้วยไฟฟ้าสถิต
คาร์ลสันและผู้ช่วยการทดลองของเขา อีกคน ชื่อ ออตโต คอร์นี่ (Otto Kornei) ได้ช่วยกันเตรียมแผ่นสังกะสีที่เคลือบผิวด้วยกำมะถัน เพื่อใช้เป็นวัสดุนำแสง โดยใช้สไลด์แก้วของกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งมีข้อความเขียนไว้ว่า “10-22-38 Astoria” ทำหน้าที่เป็นต้นฉบับในการทดลองคัดลอก
หลัก การทำงานคร่าวๆของเครื่องถ่ายเอกสารต้นแบบเครื่องแรกของโลก เริ่มด้วยการนำผ้าเช็ดหน้าไปถูที่ผิวกำมะถัน ซึ่งเคลือบไว้บนแผ่นสังกะสีอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดปะจุบวกขึ้นบนผิวกำมะถัน จากนั้นจึงนำแผ่นสไลด์ต้นฉบับไปประกบไว้ที่ด้านบนของแผ่นสังกะสีเคลือบ กำมะถัน แล้วใช้โคมไฟส่องผ่านแผ่นสไลด์แก้วของกล้องจุลทรรศน์ จากด้านบนลงมา
ตาม หลักการนี้เมื่อแสงกระทบกับผิวของกำมะถัน จะทำให้เกิดประจุลบ ซึ่งจะไปหักล้างกับประจุบวกที่มีอยู่ก่อนแล้ว จากการนำผ้าเช็ดหน้าไปถูกับกำมะถันอย่างรวดเร็ว แต่อักษรบนแผ่นสไลด์แก้วของกล้องจิ๋วจุลทรรศน์ จะบังแสงไว้ ทำให้ผิวกำมะถันที่อยู่ใต้ตัวอักษรไม่โดนแสง เมื่อใส่ผงหมึกเข้าไป แล้วแยกสไลด์ต้นฉบับออก เป่าผงหมึกส่วนเกินที่อยู่บนแผ่นสังกะสีเคลือบกำมะถันทิ้ง สิ่งที่เหลืออยู่บนนั้น คือ ตัวอักษรที่เกือบเหมือนกับต้นฉบับ
ความ อัจฉริยะของคาร์ลสันและออตโต ได้ทำให้สำเนาจากการถ่ายเอกสารแผ่นแรกของโลกถือกำเนิดขึ้นมา เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2481 หรือเมื่อ 77 ปี ที่แล้ว
จากวันนั้นถึงวันนี้ แม้ว่าเครื่องถ่ายเอกสารจะได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนมีระบบการทำงานที่รวดเร็ว และทันสมัยขึ้นก็ตาม
แต่ เมื่อไม่นานมานี้ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย ได้ออกมาเตือนให้ตระหนักถึงภัยร้ายที่แอบแฝงอยู่ในเครื่องถ่ายเอกสาร โดยระบุว่า พิษภัยตัวแรก ที่ผู้เกี่ยวข้องอาจได้รับไปเต็มๆจากเครื่องถ่ายเอกสาร คือ โอโซน (Ozone) ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการอัด และปล่อยประจุไฟฟ้าที่ลูกกลิ้งกระดาษ และบางส่วนเกิดจากการปล่อยลำแสง UV มาจากหลอดไฟฟ้าพลังงานสูงของเครื่องถ่ายเอกสาร ซึ่งแสง UV นี้ จะทำให้ก๊าซออกซิเจนในอากาศรวมตัวกันเป็นโอโซน
ปกติโอโซนจะสลายตัว เป็นก๊าซออกซิเจน ภายใน 2-3 นาที แต่อัตราการสลายตัวของโอโซนขึ้นอยู่กับระยะเวลาการระบายอากาศ พื้นผิววัตถุที่โอโซนสัมผัส และอุณหภูมิ ซึ่งจะสลายได้เร็วขึ้นใน บริเวณที่อุณหภูมิสูง ถ่านมีประจุ หรือ Activated Carbon เป็นตัวช่วยให้โอโซนสลายตัวได้ แม้ว่าเครื่องถ่ายเอกสารรุ่นใหม่มักจะมีแผ่นกรองประเภท Activated Carbon Filter ติดอยู่ เพื่อช่วยสลายโอโซนก่อนปล่อยออกภายนอกเครื่อง
แต่การ ได้รับโอโซนในระดับความเข้มข้น 0.25 ppm ขึ้นไป ต่อเนื่องยาวนาน จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตา จมูก คอ วิงเวียนศีรษะ สูญเสียการรับรู้กลิ่น โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหอบหืด ไม่ควรสัมผัสโอโซน เพราะจะเกิดอันตรายต่อปอด
ภัยร้ายตัวถัดมา คือ ผงหมึก ที่อยู่ในเครื่องถ่ายเอกสาร ซึ่งมีทั้งแบบผงคาร์บอนดำ ผสมกับพลาสติกเรซิน ในเครื่องถ่ายเอกสารระบบแห้ง และผงหมึกแบบละลายในสารปิโตรเลียม ในเครื่องถ่ายเอกสารระบบเปียก
ทั้ง 2 แบบล้วนเป็นสารเคมีที่เป็นอันตราย จึงต้องระมัดระวังขณะเติมหมึก ทั้งแบบผงหมึกและแบบหมึกเหลว รวมทั้งขณะทำความสะอาด หรือกำจัดฝุ่นผงหมึกใช้แล้ว ควรทิ้งในภาชนะที่ปิดมิดชิด
ภัยตัวที่ สาม คือ สารเคมีต่างๆ เช่น เซเลเนียม แคดเมียมซัลไฟด์ ซิงค์ออกไซด์ และโพลิเมอร์ ซึ่งมักถูกเคลือบไว้ที่ลูกกลิ้งในเครื่องถ่ายเอกสาร สารเคมีเหล่านี้ระเหยออกมาได้ในระหว่างถ่ายเอกสาร
ยกตัวอย่าง เซเลเนียม หากสูดดมเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจส่วนบน ตา เยื่อเมือกกระเพาะอาหาร หากได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก หรือเป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการลิ้นเฝื่อน อ่อนล้า อาหารไม่ย่อย วิงเวียนศีรษะ และยิ่งได้รับในระดับความเข้มข้นสูงจะเป็นอันตรายต่อตับและไต
แคดเมียม แม้ว่าจะถูกปล่อยออกมาจากเครื่องถ่ายเอกสารในปริมาณน้อยกว่าเซเลเนียม แต่เนื่องจากแคดเมียมเป็นสารก่อมะเร็ง จึงมีอันตรายมากกว่าเซเลเนียมอีกภัยร้าย คือ รังสี UV จากหลอดไฟฟ้าพลังงานสูงในเครื่องถ่ายเอกสาร เมื่อได้รับบ่อยหรือเป็นเวลานานจะทำให้ผู้ที่มองเกิดอาการปวดศีรษะ แสบตา กระจกตาอักเสบ และเกิดผื่นคันตามผิวหนังได้
ก่อนหน้านี้ ทั้ง นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อดีต รมว.สาธารณสุข และ นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย ได้ออกมาเตือนว่า
เครื่อง ถ่ายเอกสารสามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพต่อผู้ใช้งานในระยะยาว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำหน้าที่ถ่ายเอกสาร เพราะเครื่องถ่ายเอกสารมีทั้งกลิ่นสารเคมีและแสงจากเครื่องในขณะที่ถ่าย เอกสาร จึงอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่ใช้งานในระยะยาว
กระทรวง สาธารณสุขจึงแนะนำว่า ผู้ใช้เครื่องถ่ายเอกสารควรรู้จักวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัย เช่น เมื่อถ่ายเอกสารทุกครั้งควรปิดฝาครอบเครื่องถ่ายฯให้สนิท พร้อมทั้งติดตั้งพัดลมดูดอากาศไว้ในห้องถ่ายเอกสาร ควรสวมถุงมือและสวมหน้ากากกันฝุ่นเคมีทุกครั้งขณะเติมหรือเคลื่อนย้ายผงหมึก
ผงหมึกที่ใช้แล้ว หรือผงหมึกที่หกตามพื้นในขณะเติม ต้องนำไปกำจัดลงในภาชนะที่ปิดมิดชิด ควรมีการบำรุงรักษาเครื่องเป็นประจำ
ที่ สำคัญ เป็นไปได้ควรติดตั้งเครื่องถ่ายเอกสารแยกไว้ที่มุมห้อง ซึ่งไกลจากคนทำงาน ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายเอกสารควรได้รับการแนะนำอบรมวิธีการใช้ ผู้ซ่อมบำรุงเครื่องถ่ายเอกสารต้องสวมถุงมือแบบใช้แล้วทิ้ง และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับลูกกลิ้งโดยตรง.
Cr.ไทยรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น