ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติเนคเทค (สวทช.) ร่วมกับ สิงคโปร์ ทีราพัวติก แอสซิสทีพ แอนด์ รีแฮฟบิลีเททีฟ เทคโนโลยี เซ็นเตอร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ได้จัดการประชุมวิชาการ เรื่อง วิศวกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับคนพิการ ณ มหาวิทยาลัย นันยาง เทคโนโลยี สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 11-14 สิงหาคม 2558  ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยของไทย ส่งเข้าร่วมการประกวดจำนวน 11 ทีม การประกวดมี 2 ประเภท คือเทคโนโลยีสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ และผลงานการออกแบบนวัตกรรมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ

เยาวชนไทยคว้า 2 รางวัลโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุระดับนักศึกษาในงาน ไอ ครีเอท 2015 ที่ประเทศสิงคโปร์  1.‘วิชั่นเนียร์’ แว่นตาช่วยจำแนกธนบัตร สีและสินค้าสำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็นด้วยบาร์โค้ดและแสง และ 2.‘โยกเยก’ ของเล่นสำหรับเด็กพิการซํ้าซ้อน

ไอ เดียสุดล้ำของเด็กไทยคว้ารางวัลจากงานประชุมวิชาการวิศวกรรมการฟื้นฟู สมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับผู้พิการ ครั้งที่ 9 (ไอ-ครีเอท 2015) ณ ณ มหาวิทยาลัยนันยางเทคโนโลยี ประเทศสิงคโปร์ ปีนี้ มีโครงงานนักศึกษาเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 33 โครงงาน จาก 7 ประเทศ ได้แก่ จีน ไทย มาเลเซีย สวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฮ่องกง
เด็กไทยคว้ารางวัล ‘วิชั่นเนียร์-โยกเยก’

แว่นตา ‘วิชั่นเนียร์’  จากปัญหาสู่นวัตกรรม

วิชั่นเนียร์ (Visionear) อุปกรณ์สวมใส่สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น เป็นอุปกรณ์สวมใส่ประกอบด้วยแว่นติดกล้องจิ๋ว และใส่กล่องประมวลผล ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลรูปภาพแลอธิบายเสียงพูดให้แก่ผู้ใช้งาน  จากทีมนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีคว้า ได้รับรางวัลที่ 2 ประเภทผลงานด้านเทคโนโลยี มีที่มาจากแว่นตากูเกิล (Google Glass) ที่ผสมเทคโนโลยีใหม่ทันสมัยทำให้ทำหน้าที่ได้หลากหลาย

“ความยากในการ พัฒนานวัตกรรมคือ การค้นหาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง มากกว่าเรื่องของเทคโนโลยี เราต้องทำความเข้าใจถึงปัญหา ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายไม่ใช่คิดแทนเขา เพราะนั่นไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริงซึ่งจะส่งผลให้นวัตกรรมไม่ตอบโจทย์” นันทิพัฒน์ นาคทอง ผู้ร่วมพัฒนาวิชั่นเนียร์ กล่าว

วิชั่นเนียร์ ประกอบด้วย แว่นตาติดกล้องจิ๋ว สำหรับถ่ายภาพจากด้านหน้าของผู้ใช้ และกล่องประมวลผลทำหน้าที่วิเคราะห์รูปภาพและอธิบายในรูปแบบของเสียงพูดให้ แก่ผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถควบคุมผ่านการสั่งงานด้วยเสียงหรือปุ่มหมุนบริเวณกล่องประมวลผล วิชั่นเนียร์สามารถแยกแยะธนบัตรโดยใช้เทคนิคทางรูปทรง, แยกประเภทสินค้าโดยใช้บาร์โค้ดเสมือนหนึ่งมี เครื่องอ่านบาร์โค้ด, แยกสีด้วยเซนเซอร์และตรวจจับแหล่งกำเนิดแสงคล้าย ๆเครื่องวัดแสง คุณสมบัติเหล่านี้สามารถทำงานได้โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายอิน เทอร์เน็ต แต่เมื่อเชื่อมต่อวิชั่นเนียร์กับแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อขอคำอธิบายภาพด้านหน้าจากบุคคลอื่น

ทีมงานยังออกแบบให้ใช้งาน ได้ง่ายสำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือ ถือ คาดว่าต้นปีหน้าจะออกสู่ตลาดในราคา 3,000-5,000 บาท ระหว่างนี้อยู่ในการจัดตั้งบริษัทและระดมทุนสนับสนุนในรูปแบบของการทำธุรกิจ เพื่อสังคม นั่นหมายความว่า สินค้าส่วนหนึ่งจะแจกฟรีภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มทุนหรือหน่วยงานรัฐบาล อาทิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อให้ผู้พิการมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีพร้อมทั้งพัฒนาฟังก์ชันการใช้งาน ที่ตอบสนองความต้องการเพิ่มขึ้น เช่น การดูเลขบนสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งถือเป็นอาชีพหลักของผู้พิการกลุ่มนี้ หรือการซื้อหาสินค้าที่ได้จากการอ่านบาร์โค้ดด้วย เครื่องอ่านบาร์โค้ดภายในตัวแว่น เป็นต้น
เด็กไทยคว้ารางวัล ‘วิชั่นเนียร์-โยกเยก’

‘โยกเยก’ ของเล่นนวัตกรรมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ

ใน ส่วนของผลงานด้านการออกแบบนวัตกรรมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ‘โยกเยก’ ของเล่นสำหรับเด็กพิการซํ้าซ้อนกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยโยกเยก จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับรางวัลที่ 2 ชวิศา พงษ์อำไพ อธิบายว่า มุ่งเน้นการพัฒนากล้ามเนื้อขาที่อ่อนแรง โดยศึกษาพฤติกรรมการโยกชิงช้าของเด็กๆ พบว่า ขณะที่เล่นเด็กจะกระตุ้นความรู้สึกของตัวเองด้วยความรู้สึกโอบอุ้ม โดยมุ่งเน้นพัฒนากล้ามเนื้อที่อ่อนแรง ในการออกแบบม้าโยก คือสามารถเล่นได้ทั้งสองทางที่เด็กๆ จะได้ใช้ขาในการออกแรง ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความสนใจพฤติกรรมการโยกชิงช้าของเด็กๆ ขณะที่เด็กเล่นโยกหน้าหลังจะใช้กำลังขา พลิกกับแรงเสียดทาน และฝึกการทรงตัวหมุนได้รอบด้าน

โยกเยกสามารถเล่นได้ทั้งสองด้าน ด้านแรกคือการโยกหน้าหลัง และเมื่อพลิกกลับด้านจะเป็นการโยกแบบรอบทิศทาง ทั้งนี้ ได้ออกแบบ joggle หรืออุปกรณ์ลดแรงเสียดทานเพื่อประกอบกับชิ้นงาน เพื่อให้เด็กๆ รู้สึกตัว รวมถึงฝึกการใช้ขาและออกแรงขาเพิ่มขึ้นในขณะที่เล่น รูปร่างของม้าโยกจะมีลักษณะเป็นเส้นโค้งที่รับกับขาของเด็ก โดยได้แรงบันดาลใจมาจากเป็ด ซึ่งในอนาคตจะออกแบบทำเสียงเมโลดี้ฝังไปในตัวโยกเยกเพื่อให้เกิดการรับฟัง เพิ่มขึ้นด้วย

“หลังจากได้รับรางวัล เราพยายามนำไปต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ด้วยการนำไปทดสอบประสิทธิภาพ และผลที่ได้รับจากกลุ่มเด็กที่ใช้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผลิตภัณฑ์และ การพัฒนาต่อยอดในอนาคต” ชวิศา ผู้แทนกลุ่มกล่าว

ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และประธานอำนวยการจัดงาน i-CREATe 2015 ฝ่ายไทย กล่าวว่า จุดประสงค์ของการจัดงานครั้งแรกคือ การกระตุ้นให้นักวิจัยพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้พิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากอุปกรณ์จากต่างประเทศมีราคาแพง โอกาสเข้าถึงยาก การพัฒนานวัตกรรมเหล่านี้จะทำให้ผู้พิการมีโอกาสได้ใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพใน ราคาที่เข้าถึงได้ง่าย เท่ากับเป็นการลดความพิการและความเหลื่อมล้ำลงได้ ทำให้สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น ที่สำคัญจะได้นวัตกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้พิการในแต่ละประเทศ ได้อย่างเหมาะสม

Cr.กรุงเทพธุรกิจ