พิพิธภัณฑ์มดแห่งเดียวในโลก
สัตว์ที่อยู่คู่โลกมาช้านานอย่าง "มด" สัตว์ตัวเล็ก ๆ ที่มีเรื่องราวน่าสนใจมากมาย และยังเป็นหนึ่งในสัตว์ตัวอย่างด้านความขยัน ถูกรวบรวมเอาไว้ที่ "พิพิธภัณฑ์มด" แห่งแรกและแห่งเดียวในโลก ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
"มด" ขนาดยักษ์ที่ตั้งเด่นอยู่นี้ นอกจากจะทำให้เราได้เห็นสรีระของสัตว์ตัวจิ๋วนี้อย่างชัดเจนแล้ว พื้นที่บริเวณนี้ยังจำลองให้เป็นศูนย์กลางรัง ซึ่งควบคุมกิจกรรมทั้งหมด รวมถึงที่อยู่ของนางพญา, มดเพศผู้ และส่วนนี้เองที่เราจะได้รู้จักกับ "มดงาน" มดเพศเมียที่เป็นหมันและมีจำนวนมากที่สุดของรัง ซึ่งมีหน้าหาอาหาร, สร้างรัง, ดูแลตัวอ่อนและป้องกันศัตรู
ส่วนบรรดามดสต๊าฟที่มีขนาดเล็กมากหากจะวัดขนาดจำต้องใช้ ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) อุปกรณ์สำหรับใช้วัดขนาดชิ้นงานความละเอียดสูง จำต้องใช้แว่นขยายส่องชมมดสต๊าฟนี้ พูดถึงสายสัมพันธ์แห่งมดที่เชื่อมโยงระหว่างระบบนิเวศและสัตว์อื่น ๆ รวมไปถึงมดที่หาดูได้ยาก เช่น มดหลังโล่ ที่สวยงามและไม่ดุ หรือ "มดตะนอย" ที่ต่อยปวดที่สุดแต่ไม่ดุร้าย
พิพิธภัณฑ์มด ตั้งอยู่ที่ ตึกวินิจวนันดร ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2544 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในทุกๆ เรื่องราวเกี่ยวกับมด ไม่ว่าจะเป็นความเป็นมา การดำเนินชีวิต กับสืบพันธุ์ พร้อมทั้งมีการรวบรวมมดสต๊าฟกว่า 600 ชนิดจากทั่วโลก มาจัดแสดงให้ได้ชม และพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 ปี และครบรอบ 72 ปี คณะวนศาสตร์ ซึ่งได้กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์มดแห่งแรกและแห่งเดียวในโลก
มด เป็นแมลงที่มีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว โดยในรังจะมีการแบ่งชั้นวรรณะกันทำหน้าที่ คือ "มดราชินี" มดตัวเมียที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในรัง มีหน้าที่ออกไข่ และควบคุมกิจกรรมทุกๆ อย่างที่เกิดขึ้นภายในรังมด ลำดับต่อมคือ “มดงาน” เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน หน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่นๆ ทั่วไปเป็นวรรณะที่มีจำนวนมากที่สุดในรัง และ วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์
“ชีวิตอัศจรรย์ แห่งมด" ส่วนนี้ทำให้ได้รู้ว่า มดนั้นมหัศจรรย์จริงๆ ในหนึ่งรังจะมีจำนวนมากเท่าใด มดเหล่านั้นก็จะฟังคำสั่งมดราชินีเพียงตัวเดียว มีทั้งความสามัคคี ความขยัน มีความรับผิดชอบในหน้าที่ จนทำทุกๆ ภารกิจไปสู่ความสำเร็จ และในจุดนี้ได้มีการนำความมหัศจรรย์ในด้านต่างๆ นี้มาเป็นต้นแบบและข้อนำในการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์เราอีกด้วย ซึ่งมองเจ้ามดน้อยเป็นตัวอย่างในเรื่องความขยัน ไม่อย่างนั้นคงต้องอายเจ้ามดน้อย
"คุณค่าอนันต์แห่งมด" ส่วนนี้ทำให้ได้รับรู้ว่า มดนั้นมีประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างไรบ้าง เช่น มดเป็นแหล่งอาหารของมมนุษย์ โดยเฉพาะไข่มดแดงที่มีการนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู มดเป็นผู้ช่วยกำจัดศัตรูพืชและผสมเกสรดอกไม้
มดนั้นโดยลำตัวของมด นั้นจะถูกแบ่ง 4 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก ส่วนเอว และส่วนท้อง และได้รู้ว่าเพิ่มขึ้นว่า การแตะหนวดกันของมดที่เห็นจนชินตา คือวิถีการสื่อสารกัน แต่ละครั้งจะมีการหลั่งสารเคมีที่เรียกว่า "ฟีโรโมน" ออกมา ซึ่งสารเคมีตั้งนี้เป็นสารเคมีที่มดใช้เป็นเข้มทิศเพื่อเดินหาอาหารและกลับ รังเหมือนมี กล้องจิ๋ว ติดตัวแถมยังใช้ค้นหาคู่ผสมพันธุ์ ซึ่งมดแต่ละรังก็จะมีฟีโรโมนที่แตกต่างกันออกไป
“ที่ สุดของมดไทย” ให้ได้ชมว่ามดชนิดไหนเป็นสุดยอดมดในแบบต่างๆ ซึ่งไม่ควรพลาดในจุดนี้ หลังจากกดปุ่มตามป้ายที่แสดงไว้ ก็ได้รู้จัก มดที่น่ารักที่สุด ได้แก่ “เจ้ามดหลังโล่” เป็นมดขนาดกลางที่มีขนาดสวยงาม อาศัยเป็นกลุ่มเล็กๆ ไม่ดุ ถ้าถูกรบกวนจะหยุดนิ่งและงอตัว และ มดที่ต่อยปวดที่สุดได้แก่ “มดตะนอย” เพราะมีพิษร้ายแรง มีต่อมพิษขนาดใหญ่ แต่กลับเป็นมดที่ไม่ก้าวร้าว ส่วนในลำดับอื่นๆ ใครที่อยากรู้ว่ามีมดชนิดไหนบ้างเป็นที่สุดของมดไทย ก็ต้องเดินทางมาหาคำตอบกันเอาเองนะ แล้วคุณจะได้รู้ว่ามดนั้นมหัศจรรย์มากๆ
Cr.ครอบครัวข่าว,ผู้จัดการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น